สมองส่วนท้าย


 สมองส่วนหลัง ( hindbrain )  ประกอบด้วย

        เซรีเบลลัม ( cerebellum )  เป็นสมองส่วนท้ายประกอบด้วยสองซีกอยู่ทางซ้ายและทางขวา  และมีผิวด้านนอกที่เป็นเนื้อ
สีเทาและด้านในเป็นเนื้อสีขาว เช่นเดียวกับเซรีบรัม แต่มีขนาดเล็กกว่า
          มีหน้าที่สำคัญ  คือ
          -  ควบคุมและประสานงานของการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่าง ราบรื่น  สละสลวย  และเที่ยงตรง  สามารถทำงาน
ที่ต้องการความละเอียดอ่อนได้
         -  ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
         พอนส์ ( pons )  อยู่ทางด้านหน้าของเซรีเบลลัมติดต่อกับสมองส่วนกลาง
         มีหน้าที่สำคัญ  คือ
         -  ควบคุมการเคี้ยว  การหลั่งน้ำลาย  การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า
         -  ควบคุมการหายใจ
         -  เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างเซรีบรัมกับเซรีเบลลัม  และ ระหว่างเซรีเบลลัมกับไขสันหลัง
         เมดัลลาออบลองกาตา ( medulla oblongata )  เป็นสมองส่วนที่อยู่ท้ายสุด โดยติดต่อกับพอนส์ทางด้านบน และไขสันหลัง
ทางด้านล่าง
         มีหน้าที่สำคัญ  คือ
         -  เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติต่างๆ  เช่น  การเต้นของหัวใจ  การหายใจ  การหมุนเวียนเลือด
ความดันเลือด  การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลำไส้  เป็นต้น
         -  เป็นศูนย์ปฏิกิริยาสะท้อนกลับบางอย่าง  เช่น  การไอ  การจาม  การอาเจียน  การกลืน  การสะอึก
         สมองส่วนกลาง  พอนส์  และเมดัลลาออบลองกาตา  สมองทั้ง  3  ส่วนนี้รวมเรียกว่า  ก้านสมอง ( brain  stem )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น